ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
ในยุคโบราณซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบาก
ทุกหนแห่งมีความไม่เสมอภาคกัน มนุษย์ถูกแบ่งเป็นชนชั้น ชนชั้นล่างจะถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับสิ่งของ
สิทธิถูกสงวนไว้สำหรับขุนนางซึ่งเป็นชนชั้นสูงเท่านั้น
ต่อมามนุษย์เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง
มีเหตุมีผลมากขึ้น จึงเริ่มมีแนวคิดใหม่ๆว่า
สิทธิซึ่งแต่เดิมเฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้นจึงจะมีได้ สมควรที่จะมอบให้กับประชาชนทุกคน
ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่ว่า
“สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ที่บุคคลพึงมีพึงได้ มีกฎหมายรับรองไว้
และสิทธิจะได้มาตั้งแต่กำเนิดไม่มีใครสามารถพรากเอาไปได้”
สิทธิที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือ “สิทธิมนุษยชน”
มีเนื้อหาเน้นหนักไปที่เรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ความเสมอภาค รวมไปถึงเสรีภาพในด้านต่างๆ เป็นต้น สิทธิมนุษยชนนั้นประกอบไปด้วย
1.
สิทธิในชีวิตและร่างกาย
เริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก
2.
สิทธิที่จะไม่ถูกกระทำทารุณกรรม
คือ ไม่ถูกกระทำอย่างโหดร้าย ผิดมนุษย์
3.
สิทธิที่จะไม่ถูกกระทำเยี่ยงทาส
คือ ไม่ถูกปฏิบัติเฉกเช่นสิ่งของ
4.
สิทธิที่จะไม่ถูกลงโทษ
หรือถูกกล่าวหาด้วยกฎหมายย้อนหลัง
ไม่เพียงเท่านั้น
สิทธิมนุษยชนได้ถูกกล่าวถึงในปฏิญญาสากลที่โด่งดังไปทั่วโลก
นั่นคือปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
ข้อ 1
มนุษย์ทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี
เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม
และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
ข้อ 2
บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพตามที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้
ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา
ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน
กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่าง โดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง
ทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ
หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราช
อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง
หรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด